ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอธารโตมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้


ประวัติ[แก้]

เดิมอำเภอธารโตอยู่ในการปกครองของตำบลแม่หวาด อำเภอบันนังสตา ซึ่งกรมราชทัณฑ์ได้จัดตั้งทัณฑสถานเพื่อกักขังนักโทษทางการเมืองและนักโทษคดีอุกฉกรรจ์ที่จัดส่งมาจากทั่วประเทศ และเรียกทัณฑสถานแห่งนี้ว่า "นรกธารโต" ถือเป็นป่าทึบที่ชุกชมไปด้วยไข้ป่าหลบหนีได้ยาก[1] ต่อมากรมราชทัณฑ์ได้ยกเลิกทัณฑสถานแห่งนี้ใน พ.ศ. 2499 เพื่อให้กรมประชาสงเคราะห์จึงได้จัดตั้งนิคมสร้างตนเองธารโตขึ้น และเปลี่ยนทัณฑสถานดังกล่าวเป็นโรงเรียนขึ้นในปี พ.ศ. 2500 ปัจจุบันยังมีร่องรอยของคุกปรากฏอยู่ เช่น โรงครัว, โซ่ตรวน และได้จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์คุกธารโต[1]
เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2518 ได้มีการแยกเขตการปกครองออกจากอำเภอบันนังสตา จัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอธารโต ขึ้นกับอำเภอบันนังสตา[2]ก่อนจะยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอธารโต เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2524[3]
แต่เดิมชาวบ้านแต่เก่าก่อนเรียกบริเวณนี้ว่า ไอร์กือดง หรือ ไอร์เยอร์กระดง[1] เป็นภาษามลายู คำว่า ไอร์ หรือ ไอร์เยอร์ แปลว่า "น้ำ" หรือ "ลำธารใหญ่" ส่วน กือดง หรือ กระดง มีสองความหมายคือ "บริเวณที่ลำน้ำหลายสายไหลมารวมกันเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่" หรือ "พืชมีพิษ" ซึ่งมีมากในแหล่งน้ำดังกล่าว[1]
คำว่า ธารโต มาจากชื่อ เรือนจำกลางภาคธารโต[1] เป็นชื่อที่ทางกรมราชทัณฑ์ตั้งขึ้นตามลักษณะภูมิประเทศ สอดคล้องกับลักษณะทางภูมิศาสตร์ เพราะมีลำธารขนาดใหญ่ไหลผ่าน[4]

ประชากร[แก้]

ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายมลายู ราวร้อยละ 60 และชาวไทยพุทธร้อยละ 40[1] ซึ่งรวมไปถึงชาวไทยเชื้อสายจีน, ชาวไทยจากภาคเหนือ, อีสาน และใต้ อพยพมาตั้งถิ่นฐานใหม่ในเขตนิคมทั้งสามแห่ง ได้แก่ นิคมสร้างตนเองธารโต นิคมสร้างตนเองเบตง และนิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ (นิคมกือลอง)[1] มีมัสยิด 16 แห่ง[5] มีวัดทั้งหมด 6 วัด[6] ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำสวนยางพารา สวนผลไม้ และทำประมงน้ำจืด
และที่นี่ยังเป็นถิ่นที่อยู่ของเงาะป่าซาไก ซึ่งได้รับพระราชทานนามสกุล "ศรีธารโต" จากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี[7] พวกยังดำรงชีวิตอย่างโบราณอยู่ แม้ว่าทางกรมประชาสงเคราะห์จะสร้างที่พักและที่ทำกินให้ แต่พวกเขาก็มิใคร่ใส่ใจ เพราะพวกเขาพอใจที่จะใช้ชีวิตอย่างเดิมมากกว่า[4] แต่ปัจจุบันพวกเขานิยมที่จะอาศัยในประเทศมาเลเซียตั้งแต่เมื่อ 12 ปีก่อน และ 3 ปีที่ผ่านมาชาวซาไกที่เหลือก็เริ่มเข้าไปในมาเลเซียอย่างจริงจัง ด้วยเหตุผลด้านความไม่สงบ และข้อเสนอที่ดีของทางการมาเลเซียที่ให้ที่ทำกินที่ดีกว่าแก่พวกเขา[7]
ชาวซาไกนับถือพุทธกับผี และบางส่วนในมาเลเซียนับถือศาสนาอิสลาม แต่เป็นเพียงในนามเท่านั้นเพื่อความมั่นคงของตนเอง[7]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอธารโตแบ่งเขตการปกครองย่อยเป็น 4 ตำบล 37 หมู่บ้าน ได้แก่
1.ธารโต(Than To)7 หมู่บ้าน
2.บ้านแหร(Ban Rae)11 หมู่บ้าน
3.แม่หวาด(Mae Wat)12 หมู่บ้าน
4.คีรีเขต(Khiri Khet)7 หมู่บ้าน

Map of Tambon

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอธารโตประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่
  • เทศบาลตำบลคอกช้าง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลแม่หวาด
  • องค์การบริหารส่วนตำบลธารโต ครอบคลุมพื้นที่ตำบลธารโตทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแหร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านแหรทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่หวาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่หวาด (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลคอกช้าง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคีรีเขต ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคีรีเขตทั้งตำบล

สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]


  • น้ำตกธารโต มี 9 ชั้น ทุกชั้นมีทางเดินเท้าสามารถเดินชมความงามได้ตลอด บริเวณน้ำตกชั้นที่ 3-5 มีศาลาพักชมความงามของน้ำตกและผืนป่า ระยะทางจากชั้นที่ 1-9 ประมาณ 500 เมตร
  • สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง ได้แก่ ทะเลสาบธารโตและเขื่อนบางลาง ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอบันนังสตา


    แผนที่แสดงที่ที่ตั้งของรพ.สต.ในเขตอำเภอธารโต

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รูปหน้าตรง สสอ.พอซี

รูปหน้าตรง สสอ.พอซี

สถิติการเข้าชม

คิดอย่างไรกับเว็บ สสอ.ธารโต

Contact us

CHAT BOX : สสอ.ธารโต

ข่าวสารสุขภาพ