วันอาทิตย์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2560


ความเครียด เป็นภาวะที่หลายๆ คนต้องเคยพบเจอ ไม่ว่าจะอยู่ในช่วยวัยใดก็ตาม และแม้ว่ามันจะไม่ได้เป็นอันตรายรุนแรงอะไรมาก แต่มันก็คงไม่ใช่เรื่องดีต่อสภาพร่างกายและจิตใจของเราอย่างแน่นอน หากคุณยังคงเก็บความเครียดนั้นไว้กับตัว วันนี้เราเลยมีแบบประเมินความเครียดจากมูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ มาให้ลองทำดูกันค่ะ
โปรดทำเครื่องหมาย “ Х ” ลงในช่องแสดงระดับอาการที่เกิดขึ้นกับตัวท่านความความเป็นจริงมากที่สุด ว่าในระยะเวลา 2 เดือนที่ผ่านมานี้ ท่านมีอาการ พฤติกรรม หรือความรู้สึกต่อไปนี้มากน้อยเพียงใด
เมื่อคุณตอบแบบประเมินครบทั้ง 20 ข้อ แล้วให้คุณให้คะแนนแต่ละข้อดังนี้
ไม่เคยเลย  =       0      คะแนน
เป็นครั้งคราว =    1       คะแนน
เป็นบ่อยๆ  =        2       คะแนน
เป็นประจำ  =       3       คะแนน
จากนั้น ให้รวมคะแนนทั้ง 20 ข้อ คะแนนที่ได้จะอยู่ระหว่าง 0-60 คะแนน ซึ่งแต่ละช่วงคะแนนมีความหมาย ดังนี้
0-5 คะแนน แสดงว่า เครียดน้อยกว่าปกติ อาจเป็นเพราะคุณมีชีวิตที่เรียบง่าย ไม่จำเป็นต้องต่อสู้ดิ้นรนในการดำเนินชีวิตสักเท่าใดนัก คุณอาจถามตัวเองว่าพอใจหรือไม่กับสิ่งที่เป็นอยู่ หากพอใจและชีวิตไม่เดือดร้อนก็สามารถดำเนินชีวิตต่อไปอย่างเป็นสุข แต่ถ้าไม่พอใจควรปรับเปลี่ยนวิถี เช่น อ่านหนังสือ สังสรรค์กับเพื่อน หรือวางเป้าหมายชีวิตที่เหมาะสมกับตัวเองแล้วดำเนินชีวิตไปสู่เป้าหมายที่วางไว้
6-17 คะแนน แสดงว่า เครียดในระดับปกติ คุณสามารถจัดการกับความเครียดที่เกินขึ้นในชีวิตประจำวันได้ดี และปรับตัวปรับใจให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆได้อย่างอย่างเหมาะสม คุณควรพยายามรักษาระดับความเครียดเช่นนี้ต่อไปให้ได้นานๆ
18-25 คะแนน แสดงว่า เครียดสูงกว่าระดับปกติเล็กน้อย คุณอาจกำลังมีปัญหาบางอย่างที่ทำให้ไม่สบายใจ อาจทำให้มีอาการผิดปกติทางร่างกาย จิตใจและการแสดงออกได้เล็กน้อย แต่เมื่อได้พักผ่อนหย่อนใจก็จะรู้สึกดีขึ้นเอง หากทำแล้วยังไม่หายเครียดควรพูดคุยหรือปรึกษาเรื่องที่รบกวนจิตใจกับคนไว้วางใจ
26-29 คะแนน แสดงว่า เครียดสูงว่าระดับปกติปานกลาง คุณอาจกำลังมีปัญหาบางอย่างในชีวิตที่ยังหาทางแก้ไม่ได้ ทำให้มีอาการผิดปกติทางร่างกาย จิตใจ และการแสดงออกอย่างเห็นได้ชัด และแม้จะพักผ่อนหย่อนใจแล้วก็อาจจะไม่หายเครียด ควรค้นหาสาเหตุของปัญหาที่ทำให้ไม่สบายใจ คิดแก้ไขปัญหาและลงมือแก้ไข
30-60 คะแนน แสดงว่า เครียดสูงกว่าระดับปกติมาก คุณอาจกำลังเผชิญภาวะวิกฤตในชีวิตหรือสะสมความเครียดไว้มากเกินไปเป็นเวลานาน ควรคลายเครียดด้วยการหยุดพักความคิด ยืดเส้นยืดสายให้ร่างกายผ่อนคลาย พักผ่อนหย่อนใจ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง คิดแก้ปัญหาและลงมือแก้ไขปัญหา หากไม่ดีขึ้นควรขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รูปหน้าตรง สสอ.พอซี

รูปหน้าตรง สสอ.พอซี

สถิติการเข้าชม

คิดอย่างไรกับเว็บ สสอ.ธารโต

Contact us

CHAT BOX : สสอ.ธารโต

ข่าวสารสุขภาพ